แกงฮังเลมี 2 ชนิด คือ แกงฮังเลม่าน และ แกงฮังเลเชียงแสน เชื่อกันว่าเป็นอาหารที่ได้รับอิทธิพลมาจากพม่า สำหรับแกงฮังเลเชียงแสนจะแตกต่างตรงที่มีถั่วฝักยาว มะเขือยาว พริกสด หน่อไม้ดอง งาขาวคั่ว เพิ่มเข้ามา ใช้เป็นส่วนผสมของแกงโฮะ (รัตนา, 2552) จากการศึกษาของอุบลรัตน์ พันธุมินทร์ จากแหล่งข้อมูลพุกาม พบว่าแกงที่ชาวพม่าเรียกว่า “ ฮินแล ” หรือ “ ฮังแล ” นั้นเป็นแกงอย่างเดียวกับที่ชาวล้านนาเรียกว่า “ แกงโฮะ ” ส่วนแกงอย่างที่ชาวล้านนาเรียก “ ฮินแล ” หรือ “ ฮังแล ” ซึ่งต่อมาเพี้ยนเป็น “ฮังเล” ซึ่งชาวพม่าเรียก “ แวะตาฮีน ” ซึ่งแปลว่าแกงหมู แกงฮังเลม่าน มีเครื่องปรุงได้แก่ เนื้อหมูสามชั้นติดมัน หรือกระดูกซี่โครงบ้างปนกัน ขิงหั่นเป็นฝอย มะขามเปียก ( หากมีกระท้อนจะใช้กระท้อนแทนมะขามเปียกยิ่งจะทำให้รสชาติดีขึ้น) กระเทียมดองแกะเป็นกลีบ ถั่วลิสงคั่วกะเทาะเปลือกแล้ว พริกแห้ง เกลือ กะปิ ข่า ขมิ้น ตะไคร้ หอม กระเทียม น้ำตาลหรือน้ำอ้อยและผงแกงฮังเล ขั้นตอนการแกง คือนำพริกแห้ง เกลือ ขมิ้น กะปิ หอม กระเทียม ข่า ตะไคร้ โขลกรวมกันเป็นเครื่องแกง เนื้อหมูหั่นเป็นชิ้นขนาดใหญ่กว่าหั่นใส่แกง นำมาคลุกเคล้าให้เข้ากับเครื่องแกงที่เตรียมไว้และผงแกงฮังเลหมักทิ้งไว้ ประมาณ 30 นาที แล้วนำใส่หม้อขึ้นตั้งไฟจนเดือด อาจเติมน้ำลงไปเล็กน้อยหรือบางสูตรจะนำไปผัดก่อนแล้วเติมน้ำอีกเล็กน้อย เคี่ยวจนเปื่อยจนเหลือน้ำขลุกขลิก จากนั้นนำมะขามเปียก ถั่วลิสง ขิง เติมลงไป ถ้าชอบหวานก็ใส่น้ำตาลหรือน้ำอ้อยลงไปด้วย แกงฮังเลที่ได้จะมีสีน้ำตาลแดง เนื้อหมูเปื่อยนุ่ม มีน้ำขลุกขลิก รสไม่จัด อมเปรี้ยว เค็มนำ รสเผ็ดตาม แต่แกงฮังเลเชียงแสน แตกต่างจากแกงฮังเลม่านตรงที่ใส่ถั่วฝักยาว มะเขือยาว พริกสด หน่อไม้ส้ม (หน่อไม้ดองเปรี้ยว) และงาขาวคั่ว เพิ่มเข้ามา มีขั้นตอนการปรุงเช่นเดียวกับแกงฮังเลม่าน แต่ในขณะเคี่ยวแกงนั้นจะใส่หน่อไม้ส้ม เมื่อจวนจะยกลงก็ใส่ถั่วฝักยาว มะเขือยาว และพริกสด ก่อนยกลงใส่น้ำมะขามเปียก ขิง และงาดำคั่ว บางสูตรจะต้มกับหน่อไม้ดองรวม กันก่อนและจึงใส่เครื่องแกงและเครื่องปรุงอื่น ๆ ตามลำดับ เครื่องแกงฮังเลบางแห่งนิยมใส่เม็ดผักชีหรือรากผักชี และกระชายด้วย (http://www.maenoi.net/shop/maenoi/default. aspx?page=articledetail&url=maenoi&articleid=gcb51y45y23sbb55haos26820111255&lang=TH)

วิธีการทำแกงฮังเล (รัตนา, 2552)

ส่วนผสม

1.เนื้อสันคอหมู       300   กรัม

2.เนื้อหมูสามชั้น     200   กรัม

3.น้ำอ้อยป่น          2      ช้อนโต๊ะ

4.น้ำมะขามเปียก    3      ช้อนโต๊ะ

5.ขิงซอย              1/2    ถ้วย

6.กระเทียม           1/2    ถ้วย

7.ถั่วลิสงคั่ว           2      ช้อนโต๊ะ

8.สับปะรด           2      ช้อนโต๊ะ

9.ผงฮังเล             2      ช้อนโต๊ะ

เครื่องแกง

1.พริกแห้ง            7      เม็ด

2.พริกขี้หนูแห้ง      4      เม็ด

3.หอมแดง           3      หัว

4.กระเทียม           20     กลีบ

5.ตะไคร้ซอย         2      ช้อนโต๊ะ

6.ข่าซอย              1      ช้อนโต๊ะ

7.เกลือ                1      ช้อนชา

8.กะปิหยาบ         1/2    ช้อนโต๊ะ

 

วิธีทำ (รัตนา, 2552)

1. หั่นเนื้อหมูสันคอและหมูสามชั้นเป็นชิ้น ขนาด 1.5 x 1.5 นิ้ว

Description: คลิ๊กเพื่อดูรูปใหญ่

2. โขลกเครื่องแกงรวมกันให้ละเอียด

               Description: คลิ๊กเพื่อดูรูปใหญ่

3. ผสมเครื่องแกง ผงฮังเล สับปะรด และเนื้อหมู คลุกเคล้าให้เข้ากัน หมักไว้ประมาณ 1 ชั่วโมง

Description: คลิ๊กเพื่อดูรูปใหญ่

4. นำหมูที่หมักไว้มาตั้งไฟ ใส่น้ำเล็กน้อย ผัดจนกว่าหมูตึงตัว เคี่ยวต่อ คอยเติมน้ำเรื่อยๆ จนหมูนิ่มได้ที่

Description: คลิ๊กเพื่อดูรูปใหญ่

5. ใส่น้ำอ้อยป่น น้ำมะขามเปียก ใส่กระเทียม และขิงซอย คนให้เข้ากัน เคี่ยวต่อ
Description: คลิ๊กเพื่อดูรูปใหญ่

6. ใส่ถั่วลิสงคั่ว พอเดือดสักพัก ปิดไฟ

  Description: คลิ๊กเพื่อดูรูปใหญ่

 

                เคล็ดลับในการปรุง (รัตนา, 2552)

        การคั่วเครื่องแกง ใช้ไฟปานกลาง ใช้เนื้อกระท้อนแทนมะขามเปียกได้ ให้รสชาติเปรี้ยว และมีกลิ่นหอม หมูสามชั้น ควรเลือกที่มันไม่หนาเกินไป หรือเลือกใช้ซี่โครงหมูแทน

 

        สรรพคุณของส่วนประกอบของแกงฮังเล

        น้ำมะขามเปียก มีรสเปรี้ยว ทำให้ชุ่มคอ ลดความร้อนของร่างกายได้ดี มะขามเปียกอุดมด้วยกรดอินทรีย์ ที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย เช่น กรดซิตริก กรดทาร์ทาริก และกรดมาลิกเป็นต้น  (http://www.thai-nutrient. com / ?page=mat&genlangmat=21022014203554 &mattype=4#ad-image-0)

                ขิง แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ ขับลม ป้องกันอาหารคลื่นเหียน อาเจียน ช่วยลดอาการไอและระคายคอ (ชิดชนก, 2548)

        พริก ช่วยบรรเทาอาการหวัด ลดการอุดตันของหลอดเลือด ลดคอเรสเตอรอลในเลือด (http://www.lovefitt.com/healthy-fact/พริกเล็กแต่ประโยชน์ไม่เล็ก)

                หอมแดง ช่วยในการขับลม บรรเทาอาการท้องอืด แน่น ช่วยย่อย ทำให้เจริญอาหาร บรรเทาอาการบวมน้ำ มีฤทธิ์ฆ่าพยาธิ (ชิดชนก, 2548)

                กระเทียม แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ จุกเสียดแน่น (ชิดชนก, 2548)

                ตะไคร้ แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ จุกเสียดแน่น แก้อาการขัดเบา (ชิดชนก, 2548)

                ข่า แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ ขับลม รักษาโรคผิวหนัง กลาก เกลื้อน บรรเทาอาการลมพิษ (ชิดชนก, 2548) 

 

                งานวิจัย

        งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับแกงฮังเล มีหลายหน่วยงานที่ทำงานวิจัย แต่ไม่ได้มีการเปิดเผยต่อสาธารณะ เช่น เสาวภาและคณะ 2549 ได้ทำวิจัยฮังเลในเชิงสุขภาพ วรรณกนก 2550 ได้มีการพัฒนาผลิตภัณฑ์แกงฮังเลสำเร็จรูปบรรจุในซองเพาซ์ หรือวนาลี และ วิสสุตา 2556  ศึกษาแปรรูปเป็นไส้กรอกฮังเล

 

                รายนามผู้จำหน่ายแกงฮังเลและข้อมูลติดต่อ

                •วนัสนันท์ ตั้งอยู่ที่เลขที่ 398 ถนน เชียงใหม่-ลำปาง ตำบล ฟ้าฮ่าม อำเภอ เมือง จังหวัด เชียงใหม่ เบอร์โทรศัพท์ : 053-240-829 และ 053-243-010

                •ร้านดำรงค์ ตั้งอยู่ที่ตลาดวโรรส ถนนข่วงเมรุ ตำบล ช้างม่อย อำเภอ เมือง จังหวัด เชียงใหม่ เบอร์โทรศัพท์:  053-234-661 และ 087-304-5438

                •ร้านแหนมศรีบุญ ตั้งอยู่ที่ตลาดวโรรส ถนนข่วงเมรุ ตำบล ช้างม่อย อำเภอ เมือง จังหวัด เชียงใหม่ เบอร์โทรศัพท์:  053-234-463 และ 081-883-7177

                •ร้านพริกแกงแม่น้อยเชียงราย 190 หมู่ 12 ตำบล รอบเวียง อำเภอ เมือง จังหวัด เชียงราย เบอร์โทรศัพท์:  083-152-9918 และ 094-639-5245

 

                รูปแบบของผลิตภัณฑ์ที่จำหน่ายในเชิงพาณิชย์

 

Description: น้ำพริกแกงฮังเล

พริกแกงฮังเล

ที่มา http://www.thaispicysausage.com

 

                                    

                                แกงฮังเลไก่ซองเพาซ์                             แกงฮังเลหมูซองเพาซ์

แกงฮังเลพร้อมบริโภคบรรจุซองเพาซ์

ที่มา http://www.vanusnun.com

                                                                    

                                   แกงฮังเลหมูพร้อมบริโภคกระป๋อง                                       แกงฮังเลหมูพร้อมบริโภคแช่แข็ง

ที่มา http://www.thaispicysausage.com

 

                เอกสารอ้างอิง

                ชิดชนก ชมพฤกษ์. (2548). ผักพื้นบ้านไทย สมุนไพรต้านโรค. กรุงเทพฯ : ไพลิน.

                ไม่ปรากฏชื่อผู้แต่ง. ประวัติแกงฮังเล. พริกแกงแม่น้อย: http://www.maenoi.net/shop/maenoi/default. aspx?page=articledetail&url=maenoi&articleid=gcb51y45y23sbb55haos26820111255&lang=TH (เข้าถึงเมื่อ กรกฎาคม 2560)

                ไม่ปรากฏชื่อผู้แต่ง. พริกเล็กแต่ประโยชน์ไม่เล็ก : http://www.lovefitt.com/healthy-fact/พริกเล็กแต่ประโยชน์ไม่เล็ก (เข้าถึงเมื่อ กรกฎาคม 2560)

                ไม่ปรากฏชื่อผู้แต่ง. มะขามเปียก. ระบบฐานข้อมูลสารอาหารไทย: http://www.thai-nutrient.com/?page =mat&genlangmat=21022014203554&mattype=4#ad-image-0  (เข้าถึงเมื่อ กรกฎาคม 2560)

                รัตนา พรหมพิชัย. (2542). แกงฮังเล. ในสารานุกรมวัฒนธรรมไทย ภาคเหนือ . กรุงเทพฯ: มูลนิธิสารานุกรมวัฒนธรรมไทย ธนาคารไทยพาณิชย์.

                วนาลี แสงปิมปา และวิสสุตา วงศ์มา 2556. การพัฒนาผลิตภัณฑ์ไส้กรอกฮังเล สาขาวิชาเทคโนโลยีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

                        วรรณกนก ทาสุวรรณ์ 2550. การพัฒนาแกงฮังเลสำเร็จรูปบรรจุในบรรจุภัณฑ์อ่อนตัวทนความร้อน กสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร คณะเกษตรและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ ได้สนับสนุนทุนในการทำวิจัยจากสถาบันวิจัยแห่งชาติ

                        เสาวภา ศักยพันธ์ พูลสุข บุณยเนตร และศิริจันทร์ อุปาละ 2549 แกงฮังเลเพื่อสุขภาพ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ได้สนับสนุนทุนในการทำวิจัยจากสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา 107 หน้า.